เมนู

ขวายบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นด้วยของหอมและ
ดอกไม้ทั้งหลาย ครั้นละร่างมนุษย์แล้ว ได้เข้าถึง
นันทนอุทยาน มีอัปสรห้อมล้อม รื่นรมย์ด้วยการ
ฟ้อนรำขับร้องอยู่ในนันทนอุทยานอันน่าร่มรื่น ประ-
กอบด้วยฝูงปักษานานาพรรณ.

จบจูปรถวิมาน

อรรถกถาจูฬรถวิมาน


จูฬรถวิมาน มีคาถาว่า ทฬฺหธมฺมา นิสารสฺส เป็นต้น. จูฬรถ-
วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมด้วยแบ่งพระ-
บรมธาตุ สถาปนาพระสถูปสำหรับพระศาสดาไว้ในที่นั้น ๆ เมื่อพระสาวก
ที่ได้คัดเลือกเพื่อสังคายนาพระธรรม มีพระมหากัสสปเถระเป็นประมุข
อยู่ในที่นั้น ๆ กับบริษัทของตน ๆ ด้วยเห็นแก่เวไนยสัตว์ จนถึงวัน
เข้าพรรษา ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ในเขตป่าแห่งหนึ่ง ในปัจจันต-
ประเทศ สมัยนั้น พระเจ้าอัสสกราชครองราชสมบัติอยู่ในโปตลินคร
แคว้นอัสสกะ
กุมารพระนามว่าสุชาต เป็นพระโอรสของอัครมเหสีของ
พระเจ้าอัสสกราชนั้น มีพระชนมายุได้ 16 ปี ถูกพระบิดาเนรเทศจากแว่น
แคว้นเพราะยื้อแย่งราชสมบัติกับพระเทวีน้อย จึงเข้าป่า อาศัยพวกพราน
อยู่ในป่า เล่ากันมาว่า กุมารนั้นบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่ากัสสปะ ตั้งอยู่ในคุณเพียงศีล ตายอย่างปุถุชน บังเกิดในสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในดาวดึงส์นั้นชั่วอายุ เที่ยวไปเที่ยวมาอยู่ในสุคตินั้นแล
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในครรภ์ของอัครมเหสี ของพระเจ้าอัสสกราช
ในแคว้นอัสสกะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ได้ 30 ปี เขาได้มีนามว่า
สุชาต เจริญด้วยบริวารเป็นอันมาก.
เมื่อพระชนนีของสุชาตกุมารนั้นสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าอัสสกราช
ได้ตั้งราชธิดาองค์อื่นไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ต่อมาพระนางได้ประสูติ
พระโอรส พระราชาทอดพระเนตรเห็นโอรสของพระนาง ก็ทรงเลื่อมใส
ได้ประทานพรว่า ที่รัก เจ้าจงถือเอาพรที่เจ้าปรารถนา พระนางทำเป็น
รับพรไว้แต่พักไว้ก่อน (ยังไม่กล่าวขอพร ) เมื่อสุชาตกุมารมีพระชันษา
ได้ 12 พรรษา พระนางจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นลูกของหม่อมฉันแล้วมีจิตเลื่อมใส ได้พระ-
ราชทานพรไว้ บัดนี้ขอพระองค์โปรดพระราชทานพรนั้นเถิด ตรัสว่า
จงรับเอาเถิดเทวี พระนางกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดพระราชทาน
ราชสมบัติแก่ลูกของหม่อมฉันนะเพคะ ตรัสว่า ฉิบหายละอีถ่อย สุชาต-
กุมารลูกคนโตของฉัน ซึ่งเป็นเสมือนเทพกุมาร ยังอยู่ เหตุไร เจ้าจึงกล่าว
อย่างนี้ ทรงปฏิเสธ พระเทวียืนคำบ่อย ๆ ก็ผูกพระทัยไม่ได้ วันหนึ่งทูลว่า
ข้าแต่เทวะ ถ้าพระองค์ยังดำรงอยู่ในสัจจะ ก็ขอได้โปรดพระราชทานเถิด
พระราชาทรงเสียพระทัยว่า เราได้พลั้งให้พรแก่หญิงผู้นี้ และนางก็มาพูด
อย่างนี้ ตรัสเรียกสุชาตกุมารมาตรัสบอกความเรื่องนั้น น้ำพระเนตรไหล
พระกุมารเห็นพระบิดาทรงโศกเศร้า ก็เสียพระทัยน้ำพระเนตรไหล กราบ
ทูลว่า ข้าแต่เทวะ โปรดทรงอนุญาตเถิด ข้าพระองค์จักไปที่อื่น พระราชา

ทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า พ่อจักสร้างเมืองใหม่ให้เจ้า เจ้าควรอยู่ใน
เมืองนั้น พระกุมารก็ไม่ปรารถนา เมื่อพระราชาตรัสว่า พ่อจักส่งไปอยู่
ในสำนักพระราชาสหายของพ่อดังนี้ ก็ไม่ทรงเห็นด้วยแม้ข้อนั้น กราบทูล
อยู่อย่างเดียวว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์จักไปป่า พระราชาสวมกอดพระ-
โอรส จุมพิตที่พระเศียรตรัสว่า เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว เจ้าจงมาครอง
ราชสมบัติในนครนี้ ทรงปล่อยไปแล้ว.
พระกุมารนั้นเข้าป่าอาศัยพวกพรานอยู่ วันหนึ่งไปล่าเนื้อ เทพบุตร
องค์หนึ่งเป็นสหายที่ประเสริฐในครั้งที่เขาเป็นสมณะ จำแลงรูปเป็นเนื้อ
มาล่อเขาด้วยความหวังดี วิ่งไปใกล้ที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะแล้ว
หายไป พระกุมารนั้นคิดจักจับเนื้อตัวนี้ในบัดนี้ จึงวิ่งเข้าไปถึงที่อยู่ของ
พระเถระ ไม่เห็นเนื้อ เห็นแต่พระเถระนั่งอยู่นอกบรรณศาลา จึงได้ยืน
กั้นปลายลูกธนูในที่ใกล้พระเถระนั้น พระเถระแลดูเขา ทราบเรื่องที่เป็น
ไปของเขาทั้งหมดตั้งแต่ต้น เมื่อจะอนุเคราะห์ ทำเป็นไม่รู้ เมื่อทำการ
สงเคราะห์ได้ถามว่า
ท่านสอดธนูไว้มั่น ยืนจ้องธนูไม้แก่นอยู่ ท่าน
เป็นกษัตริย์ หรือราชกุมาร หรือเป็นพรานป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหธมฺมา แปลว่า สอดธนูไว้มั่น
ธนูที่ใช้สองพันแรงคน ท่านเรียกว่าสอดธนูไว้มั่น และที่ว่าธนูที่ใช้
สองพันแรงคน ได้แก่ธนูที่เมื่อยกขึ้น น้ำหนักแห่งหัวโลหะเป็นต้นที่ผูก
ไว้ที่สาย จับคันธนูยกขึ้นพันดินชั่วแค่ลูกธนู. บทว่า นิสารสฺส ได้แก่
ธนูของต้นไม้ที่มีแก่นดียิ่ง คือมีแก่นดีเลิศ อธิบายว่า ธนูที่ทำด้วยไม้แก่น.

บทว่า โอลุพฺภ ได้แก่ กั้น. บทว่า ราชญฺโญ แปลว่า ราชกุมาร. บทว่า
วเนจโร แปลว่า ผู้เที่ยวไปในป่า.
ลำดับนั้น พระกุมารนั้นเมื่อประกาศตน จึงตรัสว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระ-
เจ้าอัสสกะ เที่ยวไปในป่า ข้าแต่ภิกษุ ข้าพเจ้าขอ
บอกนามของข้าพเจ้าแก่ท่าน คนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้า
ว่า สุชาต ข้าพเจ้าแสวงหาเนื้อจึงหยั่งลงสู่ป่าใหญ่
ไม่เห็นเนื้อ เห็นแต่ท่าน จึงได้ยืนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสกาธิปติสฺส แปลว่า พระเจ้า
อัสสกะ ผู้เป็นใหญ่ในอัสสกรัฐ พระกุมารเรียกพระเถระว่า ภิกษุ. บทว่า
มิเค คเวสมาโน ความว่า แสวงหาเนื้อมีสุกรเป็นต้น คือเที่ยวล่าเนื้อ.
พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อกระทำปฏิสันถารกับกุมารนั้น ทูลว่า
ท่านผู้มีบุญมาก ท่านมาดีแล้ว ท่านมาไม่
เลวเลย ท่านจงรับเอาน้ำจากที่นี้ล้างเท้าทั้งสองของ
ท่านเถิด นี้เป็นน้ำดื่มเย็น นำมาแต่ซอกเขา ท่าน
ราชโอรส ครั้นเสวยน้ำแล้วโปรดเสด็จเข้าไปประทับ
นั่งบนสันถัดเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทุราคตํ ความว่า ท่านผู้มีบุญมาก
การมาในที่นี้ของท่าน เว้นจากการมาร้ายชื่อว่ามาดีแล้ว อธิบายว่า การ
มาร้ายแม้น้อยของท่านไม่มี เพราะให้เกิดปีติโสมนัสทั้งแก่ท่านและแก่
อาตมา. ปาฐะว่า อธุนาคตํ มาไม่นาน ดังนี้ก็มี ความว่า มาในบัดนี้.

บทว่า สนฺถตสฺมึ อุปาวิส ความว่า อย่าประทับนั่งบนพื้นที่ไม่
มีเครื่องลาด โปรดประทับนั่งบนเครื่องลาดหญ้าโน้น.
ลำดับนั้น พระราชกุมารรับการปฏิสันถารของพระเถระตรัสว่า
ข้าแต่พระมหามุนี วาจาของท่านงามหนอ
น่าฟัง ไม่มีโทษ มีประโยชน์ ไพเราะ ท่านรู้แล้ว
กล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด.

ท่านอยู่ในป่า ยินดีอะไร ข้าแต่ท่านฤษีผู้
ประเสริฐสุด ท่านถูกถามแล้วโปรดนอกทีเถิด พวก
ข้าพเจ้าพิจารณาคำของท่านแล้ว พึงประพฤติโดย
เอื้อเฟื้อซึ่งบทที่ประกอบด้วยอรรถและธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณี แปลว่า ดี คือ งาม. บทว่า
สวนียา แปลว่า ควรที่จะฟัง. บทว่า เนลา แปลว่า ปราศจากโทษ.
บทว่า อตฺถวตี ความว่า ประกอบด้วยประโยชน์ คือประกอบด้วยประ-
โยชน์มีประโยชน์ปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า วคฺคุ แปลว่า ไพเราะ. บทว่า
มนฺตฺวา แปลว่า รู้แล้ว คือ กำหนดแล้วด้วยปัญญา. บทว่า อตฺถํ ได้แก่
ไม่ปราศจากประโยชน์ คือนำมาซึ่งประโยชน์โดยส่วนเดียว.
บทว่า อิสินิสภ แปลว่า ผู้ประเสริฐสุดในฤาษีทั้งหลาย เช่นกับ
บุรุษอาชาไนย. บทว่า วจนปถํ แปลว่า คำ ก็คำนั่นแล ท่านกล่าวว่า
วจนปถะ เพราะเป็นอุบายให้บรรลุประโยชน์. บทว่า อตฺถธมฺมปทํ
สมาจเรมเส
ความว่า พวกข้าพเจ้าจะปฏิบัติส่วนแห่งธรรมมีศีลเป็นต้น
ที่นำมาซึ่งประโยชน์ในภพนี้และภพหน้า.

บัดนี้ พระเถระเมื่อกล่าวสัมมาปฏิบัติของตน ซึ่งสมควรแก่พระ-
ราชกุมารนั้น จึงทูลว่า
ดูก่อนกุมาร เราชอบใจการไม่เบียดเบียนสัตว์
ทั้งปวง การงดเว้นลักขโมย งดเว้นการประพฤติ
ล่วงเกิน งดเว้นดื่มน้ำเมา งดบาปธรรม ความประ-
พฤติสงบ ความเป็นพหูสูต ความเป็นคนกตัญญู
ธรรมเหล่านี้ กุลบุตรสรรเสริญในปัจจุบัน อันวิญญู-
ชนพึงสรรเสริญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารติ สมจริยา จ ได้แก่ การงด
เว้นขาดจากบาปธรรมตามที่กล่าวแล้ว และความประพฤติสงบมีความสงบ
กายเป็นต้น. บทว่า พาหุสจฺจํ ได้แก่ ความเป็นพหูสูตทางปริยัติ. บทว่า
กตญฺญุตา ได้แก่ การรู้อุปการะที่คนเหล่าอื่นกระทำแก่ตน. บทว่า
ปาสํสา ความว่า อันกุลบุตรทั้งหลายผู้ต้องการประโยชน์พึงสรรเสริญ
โดยการกระทำทั่วไป. บทว่า ธมฺมา เอเต ได้แก่ ธรรมมีอหิงสาเป็นต้น
ตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า ปสํสิยา แปลว่า อันวิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ.
พระเถระกล่าวสัมมาปฏิบัติที่สมควรแก่พระราชกุมารนั้นอย่างนี้แล้ว
ตรวจดูอายุสังขารด้วยอนาคตังสญาณ เห็นว่าอายุของเขาเหลือเพียงห้า
เดือนเท่านั้น เพื่อจะให้เขาสลดใจแล้วทั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัตินั้นมั่นคง จึง
กล่าวคาถานี้ว่า
ดูก่อนราชโอรส ท่านจงรู้เถิดว่า อีกห้าเดือน
ข้างหน้าท่านจักสิ้นพระชนม์ ท่านจงเปลื้องตนเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตานํ ปริโมจย ความว่า ท่านจง
เปลื้องตนจากทุกข์ในอบาย.
ต่อนั้น พระกุมารเมื่อถามอุบายหลุดพ้นสำหรับตน จึงตรัสว่า
ข้าพเจ้าจะไปชนบทไหนหนอ จะทำอะไร จะ
ทำกิจของบุรุษอะไร ๆ หรือจะใช่วิชาอะไร จึงจะไม่
แก่ไม่ตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตมํ สฺวาหํ ได้แก่ ข้าพเจ้าจะไป
ชนบทไหน ความว่า ไหนหนอ เพิ่มคำว่า กตฺวา ในบทว่า กึ กมฺมํ
กิญฺจิ โปริสํ.
บทว่า โปริสํ แปลว่า กิจของบุรุษ.
ต่อนั้น พระเถระเพื่อจะแสดงธรรมแก่เขา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ดูก่อนราชโอรส ไม่มีประเทศที่สัตว์ไปแล้ว
ไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีกรรม วิชาและกิจของบุรุษ ที่
สัตว์ทำแล้วไม่แก่ไม่ตาย ผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
แม้เหล่ากษัตริย์ครองแว่นแคว้น มีทรัพย์และข้าว
เปลือกมาก แม้ท่านเหล่านั้นไม่แก่ไม่ตาย ก็หาไม่.
ท่านที่เป็นนักศึกษา เป็นบุตรของชาวอันธกะ
และชาวเวณฑุ ผู้สามารถแกล้วกล้า ประหารฝ่าย
ปรปักษ์ แม้ท่านเหล่านั้น เสมอด้วยสิ่งยั่งยืนก็ต้อง
พินาศ ถึงอายุขัยสิ้นอายุ.

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
คนจัณฑาลและปุกกุสะ และพวกชาติอื่น ๆ แม้คน
เหล่านั้น ไม่แก่ไม่ตาย หามีไม่ ท่านที่ร่ายมนต์

พรหมจินดามีองค์ 6 และท่านที่ใช้วิชาอื่น ๆ แม้
ท่านเหล่านั้น ไม่แก่ไม่ตาย หามีไม่ อนึ่ง พวกฤษี
ผู้สงบ สำรวมจิตบำเพ็ญตบะ แม้ท่านผู้บำเพ็ญตบะ
เหล่านั้นก็ต้องละทิ้งร่างกายไปตามกาล แม้พระ-
อรหันต์ทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่
มีอาสวะ สิ้นบุญและบาปแล้ว ก็ยังทอดทิ้งกายนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ คนฺตฺวา ความว่า ไปประเทศ
ใด เข้าถึง คือถึงกรรม วิชา และกิจของบุรุษด้วยกายประโยค และ
ด้วยประโยคนอกนี้ พึงเป็นผู้ไม่แก่ไม่ตาย.
ชื่อว่า มีทรัพย์มาก เพราะมีทรัพย์ที่รวบรวมเก็บไว้มากประมาณ
ร้อยโกฏิเป็นต้นเป็นอย่างต่ำ ชื่อว่า มีโภคะมาก เพราะมีโภคะที่เป็น
เสบียงมาก คือ กหาปณะมีสามหม้อเป็นต้น. บทว่า รฏฺฐวนฺโต ได้แก่
เจ้าของแว่นแคว้น อธิบายว่า ปกครองแว่นแคว้นปริมาณหลายโยชน์.
บทว่า ขตฺติยา แปลว่า ชาติกษัตริย์. บทว่า ปหูตธนธญฺญาเส ได้แก่
สั่งสมทรัพย์และข้าวเปลือกมาก คือสั่งสมทรัพย์และข้าวเปลือกพอกินพอ
ใช้ได้เจ็ดแปดปี สำหรับตนและบริวาร. บทว่า โน เตปิ อชรามรา
ความว่า มีความแก่และความตายเป็นธรรมดาทีเดียว อธิบายว่า แม้
ความเป็นผู้มีทรัพย์มากเป็นต้น ก็ห้ามความแก่และความตายที่อยู่เหนือ
ท่านเหล่านั้นไม่ได้.
บทว่า อนฺธกเวณฺฑุปุตฺตา ความว่า ปรากฏว่าเป็นบุตรของชาว
อันธกะและชาวเวณฑุ. บทว่า สูรา ได้แก่ ผู้มีความสามารถ. บทว่า

วีรา ได้แก่ ผู้มีความกล้า. บทว่า วิกกนฺตปฺปหาริโน ความว่า มี
ปกติข่มครอบกำลังของข้าศึก แล้วประหารได้ ด้วยความเป็นผู้สามารถ
และแกล้วกล้านั่นแล. บทว่า วิทฺธสฺตา ได้แก่ ทำให้พินาศ. บทว่า
สสฺสตีสมา ได้แก่ เสมอด้วยของยั่งยืนทั้งหลาย มีพระจันทร์และพระ-
อาทิตย์เป็นต้น โดยสืบตระกูลกัน ความว่า แม้ท่านเหล่านั้นก็ไปตาม
ตระกูลที่เป็นไปได้ไม่นานเลย.
บทว่า ชาติยา ได้แก่ โดยชาติของตน ความว่า แม้ชาติที่
ประเสริฐกว่าก็ห้ามชราและมรณะของคนเหล่านั้นไม่ได้.
บทว่า มนฺตํ ได้แก่ เวท. บทว่า ฉฬงฺคํ ได้แก่ มีองค์ 6
โดยองค์ทั้ง 6 กล่าวคือ กัปปศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ นิรุตติศาสตร์
สิกขาศาสตร์ ฉันโทวิจิติศาสตร์ และโชติศาสตร์. บทว่า พฺรหฺมจินฺติตํ
ได้แก่ อันพรหมฤษีทั้งหลายมีอัฏฐกฤษีเป็นต้นคิดแล้ว คือเห็นแล้วด้วย
ปัญญาจักษุ.
บทว่า สนฺตา ได้แก่ มีกายกรรมและวจีกรรมสงบระงับแล้ว.
บทว่า สญฺญตตฺตา ได้แก่ มีจิตสำรวมแล้ว. บทว่า ตปสฺสิโน ได้แก่
ผู้อาศัยตบะ.
บัดนี้ พระกุมารเมื่อตรัสสิ่งที่ตนพึงทำ จึงตรัสว่า
ข้าแต่พระมหามุนี คาถาทั้งหลายของท่าน
เป็นสุภาษิต มีประโยชน์ ข้าพเจ้าเพ่งพินิจตาม
สุภาษิตนั้นแล้ว และขอท่านโปรดเป็นสรณะของ
ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิชฺฌตฺโตมฺหิ ได้แก่ เป็นผู้เพ่งพินิจ
คือไปแล้ว ด้วยความเข้าใจ ด้วยสัญญาในโอชะแห่งธรรม. บทว่า สุภฏฺเฐน
แปลว่า ที่กล่าวแล้วด้วยดี.
ลำดับนั้น พระเถระเมื่อพร่ำสอนพระกุมารนั้น ได้ภาษิตคาถานี้ว่า
ท่านจงอย่าถึงอาตมาเป็นสรณะเลย อาตมาถึง
พระมหาวีรศากยบุตรใดเป็นสรณะ ท่านจงถึงพระ-
มหาวีรศากยบุตรนั้นเป็นสรณะเถิด.

ต่อนั้น พระราชกุมารตรัสอย่างนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระศาสดาของท่านพระ-
องค์นั้นประทับอยู่ในชนบทไหน แม้ข้าพเจ้าก็จักไป
เฝ้าพระชินะผู้หาบุคคลเปรียบมิได้.

พระเถระทูลอีกว่า
พระศาสดาเป็นบุรุษอาชาไนย มีพระสมภพ
แต่ราชสกุลพระเจ้าโอกกากราช ในชนบททิศตะวัน-
ออก แต่พระองค์เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว.

พระเถระกล่าวว่า ปุรตฺถิมสฺมึ ชนปเท ในคาถานั้น เพราะ
มัชฌิมประเทศอยู่ทางทิศตะวันออก จากประเทศที่พระเถระนั่งอยู่.
ราชโอรสนั้นฟังธรรมเทศนาของพระเถระอย่างนี้แล้ว มีใจเลื่อมใส
ก็ตั้งอยู่ในสรณะและศีล เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็น
ศาสดาของท่านยังดำรงพระชนม์อยู่ ถึงไกลหลาย
พันโยชน์ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าใกล้ ๆ แต่เพราะพระ-
ศาสดาของท่านเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าก็
ขอถึงพระมหาวีระผู้เสด็จปรินิพพานแล้วเป็นสรณะ
ขอถึงพระพุทธเจ้า ทั้งพระธรรมอันยอดเยี่ยม ทั้ง
พระสงฆ์ ผู้เป็นสรณะของมนุษย์และเทวดา ว่าเป็น
สรณะ.

ข้าพเจ้าของดเว้นปาณาติบาตทันที ของดเว้น
อทินนาทานในโลก ไม่ดื่มน้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ
เป็นผู้ยินดีด้วยภริยาของตน.

พระราชกุมารตั้งอยู่ในสรณะและศีลอย่างนี้แล้ว พระเถระก็ทูล
อย่างนี้ว่า ดูก่อนราชกุมาร ไม่มีประโยชน์ที่ท่านจะอยู่ป่าในที่นี้ ท่านจะมี
ชีวิตอยู่ไม่นาน ภายใน 5 เดือนเท่านั้นท่านจักสิ้นพระชนม์ ฉะนั้น ท่าน
ควรไปยังสำนักพระราชบิดาของท่าน ทำบุญทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้น พึง
เป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดังนี้แล้ว แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
ในสำนักของตนให้ ราชกุมารนั้นเมื่อจะไป ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจักไปจากที่นี้ตามคำของท่าน แม้ท่านก็พึงไปในที่นั้น เพื่อ
อนุเคราะห์ข้าพเจ้า ทราบว่าพระเถระรับนิมนต์แล้ว ไหว้ ทำประทักษิณ
แล้วเสด็จไปนครของพระบิดาเข้าไปยังอุทยาน แจ้งให้กราบทูลพระราชา
ทรงทราบว่า ตนมาแล้ว.

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้น พร้อมด้วยบริวารเสด็จไปอุทยาน สวม
กอดพระกุมาร นำเข้าในเมือง มีพระราชประสงค์จะอภิเษก พระกุมาร
ทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์มีอายุน้อย จากนี้ไป 4 เดือน ก็จักทาย
ข้าพระองค์จะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ ข้าพระองค์จักอาศัยพระองค์
ทำบุญเท่านั้น แล้วประกาศคุณของพระเถระ และอานุภาพของพระรัตน-
ตรัย พระราชาทรงสดับดังนั้น ทรงสลดพระทัย เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
และพระเถระ โปรดให้สร้างวิหารใหญ่ แล้วทรงส่งทูตไปสำนักของ
พระมหากัจจายนเถระ แม้พระเถระก็ได้มาอนุเคราะห์พระราชาและมหาชน
พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริวารเสด็จไปต้อนรับแต่ไกลทีเดียว นิมนต์
พระเถระให้เข้าวิหาร บำรุงด้วยปัจจัยสี่โดยเคารพ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล
ทั้งหลาย พระกุมารสมาทานศีลทั้งหลาย บำรุงพระเถระและภิกษุทั้งหลาย
โดยเคารพ ให้ทาน ฟังธรรม ล่วงไปสี่เดือนก็สิ้นพระชนม์ไปบังเกิดใน
ภพดาวดึงส์ รถขนาดเจ็ดโยชน์ประดับด้วยรัตนะเจ็ดเกิดขึ้นด้วยบุญญานุ-
ภาพของเทวบุตรนั้น เทวบุตรนั้นมีอัปสรเป็นบริวารหลายพัน.
พระราชาทรงทำสักการะสรีระของพระกุมาร และถวายมหาทาน
แด่ภิกษุสงฆ์ ทำการบูชาพระเจดีย์ มหาชนประชุมกันในที่นั้น แม้พระ-
เถระพร้อมด้วยบริวารก็ได้เข้าไปยังประเทศนั้น ครั้งนั้น เทวบุตรตรวจดู
กุศลกรรมที่ตนทำไว้ คิดด้วยความเป็นผู้กตัญญูว่า เราจักไปไหว้พระเถระ
และจักทำศาสนคุณให้ปรากฏ ขึ้นรถทิพย์ มาปรากฏรูปให้เห็นพร้อมด้วย
บริวารเป็นอันมาก ลงจากรถไหว้แทบเท้าพระเถระ ทำปฏิสันถารกับบิดา
เข้าไปยืนประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระเถระ พระเถระได้ถามเทวบุตรนั้น
ด้วยคาถาเหล่านั้นว่า

พระอาทิตย์มีรัศมีมาก ส่องแสงไปในท้องฟ้า
ตามลำดับตลอดทิศ ประการไร ๆ รถใหญ่ของท่าน
นี้ ก็มีประการอย่างนั้น แผ่แสงไปโดยรอบกว้าง
ร้อยโยชน์ หุ้มด้วยแผ่นทองโดยรอบ คานรถนั้น
วิจิตรด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณี มีลายทองและเงิน
ทำด้วยแก้วไพฑูรย์ สร้างไว้อย่างดีสง่างาม งอนรถ
สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์ แอกรถวิจิตรด้วยแก้วทับทิม
แม้ม้า ( เทียมรถ ) ก็ประดับด้วยทองและเงิน สง่า
งาม วิ่งเร็วทันใจ ท่านนั้นยืนสง่าอยู่ในรถทอง มี
พาหนะเทียมม้าพันหนึ่ง ดังท้าวสักกะจอมทวยเทพ
ก่อนท่านผู้มียศ อาตมาขอถามท่านผู้ชาญฉลาด
ยศอันโอฬารนี้ ท่านได้มาอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสรํสี แปลว่า พระอาทิตย์
ก็พระอาทิตย์นั้น ท่านเรียกว่า สหสฺสรํสี เพราะมีรัศมีหลายพัน. บทว่า
ยถา มหปฺปโภ ได้แก่ มีรัศมีเหมาะแก่ความใหญ่ของตน เหมือน
อย่างว่า ดวงไฟที่เสมอเหมือนกับดวงอาทิตย์โดยความใหญ่ ย่อมไม่มี
ฉันใด ที่เสมอเหมือน แม้โดยรัศมี ก็ไม่มีฉันนั้น จริงอย่างนั้น ดวงอาทิตย์
นั้นย่อมแผ่แสงสว่างถึงสามทวีปใหญ่ในขณะเดียวกัน. บทว่า ทิสํ ยถา
ภาติ นเภ อนุกฺกมํ
ความว่า พระอาทิตย์เมื่อโคจรคล้อยเคลื่อนไป
ตลอดทิศ อย่างไรทีเดียว ย่อมส่องแสงสว่างโชติช่วงในท้องฟ้า คือใน
อากาศ อย่างไร คือด้วยประการใด. บทว่า ตถาปกาโร ได้แก่ มี

อาการเช่นนั้น. บทว่า ตวายํ ตัดบทเป็น ตว อยํ แปลว่า ของท่านนี้.
บทว่า สุวณฺณปฏฺเฏห แปลว่า ด้วยแผ่นที่สำเร็จด้วยทอง. บทว่า
สมนฺตโมตฺถโฏ ได้แก่ ถูกปิดโดยรอบ. บทว่า อุรสฺส ตัดบทเป็น อุโร
อสฺส
แปลว่า คานของรถนั้น ท่านเรียกโคนงอนรถ ว่าคานของรถ ก็มี.
บทว่า เลขา ได้แก่ ลายมีมาลากรรมลายดอกไม้และลดากรรมลายเครือ
เถาเป็นต้น ที่สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ ท่านกล่าวว่า สุวณฺณเสฺส จ
รูปิยสฺส จ
ดังนี้ เพราะลายเหล่านั้นปรากฏบนแผ่นทองและแผ่นเงิน
ทั้งหลาย. บทว่า โสเภนฺติ แปลว่า ทำรถให้งาม.
บทว่า สีสํ ได้แก่ หัวทูบรถ. บทว่า เวฬุริยสฺส นิมฺมิตํ
แปลว่า สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์ ความว่า สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์. บทว่า
โลหิตกาย ได้แก่ ด้วยแก้วทับทิม หรือด้วยแก้วมณีแดงอย่างใดอย่าง
หนึ่ง. บทว่า ยุตฺตา แปลว่า ประกอบแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
โยตฺตา สุวณฺณสฺส จ รูปิยสฺส จ ความว่า เชือกสำเร็จด้วยทอง
และสำเร็จด้วยเงิน อธิบายว่า เครื่องผูกตีนช้าง [ ตกปลอก ].
บทว่า อธิฏฺฐิโต ความว่า ยืนข่มที่นี้เสียสิ้นด้วยเทวฤทธิ์ของตน.
บทว่า สหสฺสวาหโน แปลว่า มีพาหนะเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง อธิบายว่า
มีรถเทียนด้วยม้าอาชาไนยพันหนึ่ง เหมือนท้าวสักกะจอมทวยเทพ. บทว่า
ยสวนฺต เป็นอาลปนะคำร้องเรียก ความว่า ดูก่อนท่านผู้มียศ. บทว่า
โกวิทํ ได้แก่ มีกุศลญาณ หรือชาญฉลาดในกระบวนการขับรถ. บทว่า
อยํ อุฬาโร อธิบายว่า ยศอันโอฬารคือใหญ่ นี้.

เทวบุตรถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว ได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้
ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นราชโอรส ชื่อ
สุชาต ในชาติก่อน และท่านได้อนุเคราะห์ให้ข้าพเจ้า
ได้ตั้งอยู่ในสัญญมะ ท่านทราบว่าข้าพเจ้าหมดอายุ
ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดาด้วยกล่าว
ว่า ดูก่อนสุชาต เธอจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้
การบูชานั้นจักเป็นประโยชน์แก่เธอเอง.

ข้าพเจ้าได้ขวนขวายบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
นั้น ด้วยของหอมและดอกไม้ทั้งหลาย ครั้นละร่าง
มนุษย์แล้ว ได้เข้าถึงนันทนอุทยาน มีอัปสรห้อม
ล้อม รื่นรมย์ด้วยการฟ้อนรำขับร้องอยู่ในนันทนอุท-
ยาน อันเลิศน่าร่มรื่น ประกอบด้วยฝูงปักษานานา-
พรรณ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรีรํ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุ.
บทว่า โหหิติ แปลว่า จักเป็น. บทว่า สมุยฺยุโต โดยความว่า ขวนขวาย
โดยชอบ คือ กระวีกระวาด.
เทวบุตรตอบเนื้อความที่พระเถระถามอย่างนี้แล้วไหว้พระเถระ ทำ
ประทักษิณ ลาบิดามารดาแล้วขึ้นรถกลับไปเทวโลกตามเดิม.
แม้พระเถระก็ได้ทำเนื้อความนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง

กล่าวธรรมีกถาโดยพิสดารแก่บริษัทที่ประชุมกัน ธรรนกถานั้นได้เป็น
ประโยชน์แก่มหาชน ครั้งนั้น พระเถระได้บอกเรื่องทั้งหมดนั้น แก่
พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ในคราวปฐมสังคายนา โดยทำนองที่
ตนและเทวบุตรพูดกันนั่นเทียว พระธรรมสังคาหกาจารย์เหล่านั้นได้ยก
เรื่องนั้นขึ้นสู่สังคายนา อย่างนั้นแล.
จบอรรถกถาจูฬรถวิมาน

14. มหารถวิมาน


ว่าด้วยมหารถวิมาน


พระมหาโมคคัลลานเถระ

ถามเทวบุตรว่า
[64] ท่านขึ้นรถม้างดงามมิใช่น้อยคันนี้ เทียม
ด้วยม้าพันหนึ่ง เข้ามาใกล้พื้นที่อุทยาน รุ่งเรืองดัง
ท้าววาสวะผู้ให้ทานในก่อน ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา
ทูบรถทั้งสองของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทอง ประกอบ
ด้วยแผ่นทองสองข้างสนิทดี มีลูกกรงจัดไว้ได้ระเบียบ
เรียบร้อย เหมือนนายช่างพากเพียรบรรจงจัด โชติ-
วงดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ รถคันนี้คลุมด้วยข่าย
ทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ เป็นอันมาก เอิกอึง
น่าเพลิดเพลินดี มีรัศมีรุ้งร่วง โชติช่วงด้วยหมู่เทพ